วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดระบบการเรียนการสอน

การสอนเป็นระบบได้อย่างไร
                การสอนเป็นวิทยาการที่มีระบบครอบคลุมการดำเนินงานการสอนตั้งแต่การวางแผน การเตรียมการสอนจนถึงการประเมินและการปรับปรุงการสอน  โดยที่การสอนเป็นวิทยาการแขนงหนึ่ง  การสอนจึงเป็นระบบด้วยเหตุผล  6  ประการ  คือ
          1. ครูต้องมีการสำรวจสภาพต่างๆในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการสอน  สภาพผู้เรียนและเนื้อหาสาระที่จะนำมาถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน
          2. ครูต้องมีการวางแผนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาพแวดล้อมต่างๆในการวางแผนการสอนครูต้องกำหนดเนื้อหาที่จะสอน  กำหนดมโนมติวัตถุประสงค์  กิจกรรมการเรียน  สื่อการสอน  และการประเมินผลโดยเขียนออกมาในรูปของ  แผนการสอน
          3. ครูต้องมีการเตรียมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนตามที่วางแผนไว้  อาทิเตรียมทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอน  เตรียมสร้างแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน  การผลิตสื่อการสอนต่างๆ  ตามกำหนดไว้ในแผนการสอน  เป็นต้น
          4. เมื่อถึงเวลาสอนครูก็มีแนวทางและวิธีการสอนตามขั้นตอนเพื่อให้นักเรียนแสดงการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
          5. เมื่อสอนเสร็จแล้วครูต้องประเมินผลการเรียนของนักเรียน  เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์
          6. ครูต้องมีการประเมินผลย้อนกลับจากสัมฤทธิผลของนักเรียนและจากการประเมินการสอนของตนเอง  เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
           จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  เมื่อนำไปเทียบกับวิธีการจัดระบบที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า“SystemsApproach”  แล้วก็จะพบว่าจากขั้นตอนสำคัญทั้ง  3  ขั้นของการจัดระบบคือ
               (1)  ขั้นข้อมูลที่ใส่เข้าไป (Input) 
               (2)  ขั้นดำเนินการ  (Process)
               (3)  ขั้นผลลัพธ์  (Output)
          1. เหตุผลข้อที่  1-3  คือการสำรวจสภาพแวดล้อม  การวางแผนและการเตรียมการสอนจัดอยู่ในขั้น  “Input”
          2. เหตุผลข้อที่  4  คือการดำเนินการสอนจัดอยู่ในขั้น  “Process”
          3. เหตุผลข้อที่  5-6  คือการประเมินผลลัพธ์และผลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงจัดอยู่ในขั้น “Output”  และ  “Feedback”
           จึงสรุปได้ว่า   การสอนเป็นระบบเพราะมี  การวางแผน  เตรียมการจนถึงการประเมินผลและขั้นตอนที่ครอบคลุมการดำเนินงานการสอนตั้งแต่  ปรับปรุงการสอน
                                              ความหมายของระบบการสอน
          ความหมายของระบบการสอน(System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วยสรุป ได้ว่า ระบบจะต้องมี
          1. องค์ประกอบ  
          2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน    
          3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์
                                          องค์ประกอบของระบบและวิธีระบบระบบ
องค์ประกอบของระบบและวิธีระบบ โดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้
  •  สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้
  • กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
  • ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป
  •  ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไปซึ่งองค์ประกอบดัง กล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อ ทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach)
                                         ขั้นตอนการจัดระบบการเรียนการสอน
          ระบบคือการรวม ส่วนย่อยๆ ที่ทำงานเป็นอิสระเข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ การศึกษาก็จัดเป็นระบบหนึ่ง  มีองค์ประกอบเป็นหน่วยย่อยลงไปคือ  การเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน การจัดการ การบริการ อาคารสถานที่  ร่วมทั้งชุมชน  ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน รวมเป็นหน่วยใหญ่ คือระบบการศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาผู้เรียน   การเรียนการสอนจัดเป็นระบบหนึ่ง  มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยเข้า  กระบวนการ และ ผลลัพธ์  และผลย้อนกลับ  การจัดระบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผน การเรียนการสอนอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง
          1. ปัจจัยนำเข้า คือสิ่งต่างๆ หรือข้อมูลที่ต้องใส่ หรือป้อนเข้า เพื่อดำเนินเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ  เช่น ทรัพยากรต่างๆ งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์  เป็นต้น
          2. กระบวนการ หมายถึง การดำเนินการ  ยุทธวิธี หรือกิจกรรมที่ทำต่อปัจจัยนำเข้า  เพื่อให้งานหรือผลผลิตเป็นไปตามต้องการ
          3. ผลลัพธ์  หมายถึงผลผลิตที่เกิดขึ้นภายหลัง จากการดำเนินการแล้ว และผลผลิตที่ได้ ตรงตามจุดประสงค์ และผลพลอยได้ มีทั้งผลดีและผลเสีย